ตอนที่ 2 การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย
การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย
ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบหาค่าความเที่ยงตรง
(Validity) และการทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม
เพื่อนำมาปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ดังนี้
การทดสอบหาค่าความเที่ยงตรง
(Validity)
1. ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย
ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) เพื่อต้องการพิสูจน์ ตรวจสอบความเหมาะสมและถูกต้องขององค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบคือ
2.
ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย
ด้วยการนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นไป
ให้ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ทำการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
(Content Validity) จำนวน 5 ท่าน
เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง ข้อคำถามตรงกับคุณลักษณะ
ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ต้องการวัด (ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์และอัจฉรา ชำนิประศาสน์, 2545) ดังนี้
สูตร IOC =
เมื่อ
IOC
= ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective
Congruence)
R = คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
คำถามแต่ละข้อ
N = จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
โดยมีการกำหนดคะแนนที่ผู้เชี่ยวชาญให้ดังนี้
+1 หมายถึง
คำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือนิยามปฏิบัติการ
-1
หมายถึง คำถามไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือนิยามปฏิบัติการ
0
หมายถึง
ไม่แน่ใจว่าคำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือนิยามปฏิบัติการ
ค่า IOC ≥
.50 หมายความว่า คำถามตรงวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ค่า IOC < .50 หมายความว่า
คำถามไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สำหรับการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ต้องการวัด
ผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน
ดังนี้ (สุทธิกันต์ 2560)
= ความแปรปรวนของคะแนนแต่ละข้อ
= ความแปรปรวนของคะแนนรวม
การทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น
(Reliability)
ผู้วิจัยทำการวัดความเชื่อมั่นหรือความสอดคล้องภายในด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
(Cronbach’s Alpha
Coefficient) ด้วยการนำแบบสอบถามที่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 30 คน
ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย โดยคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่า α ตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป ถือว่าข้อคำถามมีความเชื่อมั่น (ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์และอัจฉรา ชำนิประศาสน์, 2545)
สูตร α =
เมื่อ
α = ค่าความเชื่อมั่น
n = จำนวนข้อ
นอกจากนี้
ผู้วิจัยจะทำการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม ด้วยการวิเคราะห์
ค่าความเที่ยงของตัวแปรสังเกตได้ (Internal Consistency Reliability)
โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
(Cronbach’s Alpha Coefficient)
กับแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
เพื่อที่จะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30
คน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น