ตอนที่1.เริ่มทบทวน

  การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) 
                   การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
                   เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของผู้ให้ข้อมูลที่ดี ผู้วิจัยได้กำหนดจากตัวแทนของตัวอย่าง เช่น งานวิจัยของ Sigala. (2003)., Kasim & Minai. (2009) เป็นต้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นตัวแทนที่ดี ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sampling Size) โดยใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามกฎแห่งความชัดเจน (Rule of thump) ตามข้อเสนอของ Schumacker & Lomax. (1996)., Hair, Anderson, Tatham & Black. (1998) ที่นักสถิติวิเคราะห์ตัวแปรพหุนิยมใช้ คือ ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง  10 - 20 คนต่อตัวแปรในการวิจัยหนึ่งตัวแปร (Schumacker & Lomax, 1996., Hair et al., 1998  อ้างในนงลักษณ์  วิรัชชัย, 2542) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีตัวแปรสังเกตได้ในแบบจำลองจำนวน 12  ตัวแปร ขนาดตัวอย่างที่มีความเหมาะสมและเพียงพอจึงควรมีอย่างน้อย 10 x 20 = 200 ถึง 20 x 20 = 400 ซึ่งผลจากการคำนวณดังกล่าวเป็นจำนวนของขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ ที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือทางเทคนิคสถิติ Structural Equation Modeling (SEM) นอกจากนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (Mailing) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้ตอบมักไม่ให้รับความร่วมมือมากนักหรือหมายถึงสัดส่วนที่ผู้ตอบจะส่งแบบสอบถามคืน (Response Rate) ค่อนข้างต่ำ ผู้วิจัยจึงได้ทำการประมาณอัตราการตอบกลับเป็น 200 + (200 x 0.4) = 280  (กัลยา  วานิชย์บัญชา, 2549ก) เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการเก็บข้อมูล เพื่อเป็นการสำรองหรือลดความคลาดเคลื่อนจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง กรณีที่มีการส่งแบบสอบถามคืนค่อนข้างต่ำ และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน น่าเชื่อถือมากขึ้นจากกรณีความผิดพลาดจากการตอบแบบสอบถามอย่างไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ จำนวน 280 ตัวอย่าง ซึ่งมีจำนวนเพียงพอและมากกว่าขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือทางเทคนิคสถิติ Structural Equation Modeling (SEM) (ยกตัวอย่าง :สุทธิกันต์ 2560)
การจัดกระทำข้อมูล
ในการจัดกระทำข้อมูลผู้วิจัย จะใช้ขั้นตอนดังนี้
การจัดทำข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์จากการสนทนากลุ่มและบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทาการบันทึกข้อมูลลงในสมุดบันทึก บางกรณีอาจใช้เครื่อง
บันทึกเสียงในการบันทึกข้อมูลการสนทนา ตลอดถึงการใช้กล้องบันทึกภาพ ทั้งกล้องถ่ายวีดิทัศน์ และกล้องบันทึกภาพธรรมดา
นำข้อมูลที่บันทึกมาสรุปในแต่ละวัน และทำการจัดหมวดหมู่เพื่อหาคำตอบ ตามเนื้อหาของการวิจัย
การตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลขณะเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยจะตรวจความเที่ยงตรง (Validity) และความน่าเชื่อถือได้ (Reliability) ของข้อคำถามข้อมูลภาคสนามทุกครั้งที่เก็บข้อมูลด้วยการดูข้อคำถาม ได้สื่อความหมายตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ทดสอบกับสภาพแวดล้อม และข้อมูลอื่นที่มีอยู่เดิมจากแหล่งอื่นๆ ในลักษณะทดสอบแบบสามเส้า (Triangulation) ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อจะได้ข้อมูลมีความแม่นยำ และมีความเชื่อถือได้มากที่สุด จากการสังเกตพฤติกรรมการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลหลัก และผู้ที่ให้ข้อมูลทั่วไป ด้วยการตรวจสอบข้อมูลสามเส้าในด้านต่างๆ ดังนี้
ตรวจสอบข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Member Checks) โดยให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือสมาชิกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักฐานต่างๆ จากภาคสนามที่วิจัย (Audience Members) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานทางข้อมูล และผลงานวิจัยที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการแสวงหาความรู้ ความจริงที่ปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ


ตรวจสอบด้วยกลุ่มเพื่อนนักวิจัย (Peer Examination) โดยการขอร้องให้บุคคลหรือเพื่อนนักวิจัยให้ข้อมูลและรายละเอียด แสดงความคิดเห็น วิจารณ์ ตลอดถึงการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวหลักฐานและข้อมูล แบบแผนที่เป็นสาระแก่นสาร ที่ทำการวิเคราะห์ได้จากข้อมูลหลักฐานที่เก็บได้รวบรวมได้จากสนามการวิจัย
การเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยแบบสามเส้า (Triangulation) เพื่อสะท้อนให้เห็นข้อมูลหลักฐานและผลงานวิจัยโดยอาศัยการตีความหมายของข้อมูลหลักฐานที่เก็บรวบรวมได้มีความไว้วางใจได้ว่ามีความถูกต้องตามความเป็นจริงที่ได้นำเสนอไป ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะกระทำได้โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง (Data Triangulation) หลากหลายวิธี (Methodological Triangulation) และโดยนักวิจัยหลายคน (Investigator Triangulation) ซึ่งจะมีรายละเอียดในภาพประกอบเพื่อที่จะตรวจสอบความไว้วางใจ ตลอดถึงการเข้าถึงข้อเท็จจริงได้ (Fact) หรือปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยต้องการสืบค้นหาคำตอบได้อย่างละเอียดครบถ้วน และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น




: การใช้แหล่งข้อมูลต่างกัน    ข : การใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างกัน     : การใช้นักวิจัยทาการเก็บ
                                                                                                             รวบรวมข้อมูลต่างกัน
การตรวจสอบความไว้วางใจด้วยวิธีเชื่อมโยงแบบสามเส้า 3 รูปแบบ

ภาพประกอบ 51 แสดงการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)
ที่มา : (ทรงคุณ จันทจร. 2549: 78)
  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตอนที่ 2 การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย