บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

ตอนที่ 2 การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย

การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบหาค่าความเที่ยงตรง ( Validity) และการทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น ( Reliability) ของแบบสอบถาม เพื่อนำมาปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ดังนี้                    การทดสอบหาค่าความเที่ยงตรง ( Validity )                       1. ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน ( Confirmatory Factor Analysis: CFA ) เพื่อต้องการพิสูจน์ ตรวจสอบความเหมาะสมและถูกต้องขององค์ประกอบหลัก   3 องค์ประกอบคือ                       2. ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย ด้วยการนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นไป ให้ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ทำการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จำนวน 5 ท่าน เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง ข้อคำถามตรงกับคุณลักษณะ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ต้องการวัด (ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์, 2545 ) ดังนี้ สูตร    IOC               =            

ตอนที่1.เริ่มทบทวน

   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research)                     การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง                    เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของผู้ให้ข้อมูลที่ดี ผู้วิจัยได้กำหนดจากตัวแทนของตัวอย่าง เช่น งานวิจัยของ Sigala. (2003)., Kasim & Minai. (2009) เป็นต้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นตัวแทนที่ดี ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ( Sampling Size) โดยใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามกฎแห่งความชัดเจน ( Rule of thump) ตามข้อเสนอของ Schumacker & Lomax. (1996)., Hair, Anderson, Tatham & Black. (1998) ที่นักสถิติวิเคราะห์ตัวแปรพหุนิยมใช้ คือ ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง  10 - 20 คนต่อตัวแปรในการวิจัยหนึ่งตัวแปร ( Schumacker & Lomax, 1996., Hair et al., 1998   อ้างในนงลักษณ์  วิรัชชัย , 2542) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีตัวแปรสังเกตได้ในแบบจำลองจำนวน 12   ตัวแปร ขนาดตัวอย่างที่มีความเหมาะสมและเพียงพอจึงควรมีอย่างน้อย 10 x 20 = 200 ถึง 20 x 20 = 400 ซึ่งผลจากการคำน